สวัสดีปีงบประมาณ พ.ศ.2565

                             เริ่มต้นปีงบประมาณ  พ.ศ. 2565  งานพัสดุมีโครงการปรับปรุงระบบสนับสนุนงานคลังและสินทรัพย์ ในส่วนของระบบงานทะเบียนวัสดุ เพื่อปรับปรุง แก้ไข ปัญหาอุปสรรคบางประการในระหว่างการทดลองใช้งานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้

 ปรับปรุงขั้นตอนการบันทึกรับวัสดุ    /    ปรับปรุงขั้นตอนการตัดบัญชีวัสดุ  ให้มีการตรวจเช็ควัสดุคงเหลือ / LOT NO. ก่อนดำเนินการตัดใบเบิก  เพื่อความสมบูรณ์ของรายงานวัสดุคงเหลือ ถูกต้องแม่นยำ สัมพันธ์กับปริมาณวัสดุที่มีอยู่จริง แบบ Real Time


แนวคิดเดิม  และแนวคิดใหม่

    เดิม     --> [1] ทะเบียนวัสดุกลาง (etc.    100 รายการ) 
               --> [2] ทะเบียนรับวัสดุ ( บันทึกรายการตามซื้อจริง แต่ข้อมูลที่มองเห็นได้มาจาก 100 รายการ)
               ​--> [3] การบันทึกเบิกวัสดุ (มองเห็นข้อมูลจากทะเบียน [1] จำนวน 100 รายการ)
               
    ใหม่   -->[1] ทะเบียนวัสดุกลาง   (etc.    100 รายการ)
              -->[2] ทะเบียนรับวัสดุ (บันทึกรายการตามซื้อจริง  ex. 10 รายการ...., 5 รายการ =  15 รายการ  ในช่วงเวลานั้นๆ)           
              -->[3] การบันทึกเบิกวัสดุ มองเห็นทะเบียนรับวัสดุ [2]  จำนวน 15 รายการที่คงเหลือตามจริง........ในช่วงเวลานั้น ๆ)

1. ปรับปรุงขั้นตอนการเบิกวัสดุ
                       การนำใบเบิกวัสดุ มาบันทึกข้อมูล มีขั้นตอนเพิ่มเติม คือ
                       --> ค้นหาวัสดุ 
                       --> มองเห็นวัสดุคงเหลือรายการนั้นในภาพรวม , มองเห็นวัสดุคงเหลือจากการซื้อในแต่ละครั้ง และ
                            มองเห็นทางเลือกในการเบิกวัสดุที่คงเหลือให้เบิก เพื่อให้ข้อมูลการเบิกเป็นไปตาม LOT. NO......"   บันทึกข้อมูลจากใบเบิกพัสดุ เพื่อให้การเบิกวัสดุเป็นไปตามหลักการเข้าก่อนออกก่อน  (FIFO)  เนื่องจากการจัดซื้อแต่ละครั้ง จากหลากหลายร้านค้า วัสดุย่อมจะมีราคาที่แตกต่างกัน......โดยสัมพันธ์กับระยะเวลา หรือวันที่ที่ขอเบิก....   กล่าวคือ วัสดุ LOT 1 จัดซื้อในราคา A   เมื่อมีการเบิกในช่วงเวลาดังกล่าว วัสดุที่ขอเบิก จะเป็นวัสดุที่ซื้อจาก LOT 1 ราคา A เป็นต้น  
                    

2. ปรับปรุงให้รองรับทุก ๆ ปีงบประมาณ
                       ระบบวัสดุ มีความสามารถรองรับงานทุกปีงบประมาณ ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง ทำให้ระบบมีความยืดหยุ่น คล่องตัว

ความคาดหมาย และประโยชน์ที่ได้รับ

                 - ทะเบียนวัสดุ ให้รายงานวัสดุคงเหลือแบบ real time ด้วยความแม่นยำ และถูกต้อง 95% ขึ้นไป
                 - ลดระยะเวลาในการสรุปข้อมูล และได้รายงานวัสดุคงเหลือจากระบบ ต่อกรรมการฯ ดำเนินการตรวจสอบพัสดุประจำปี    
                 - ระยะเวลาการตรวจสอบพัสดุประจำปี มีระยะเวลา 30 วัน แต่สรุปผลการตรวจนับวัสดุคงเหลือ ต่องานบัญชีเพื่อ
                   ทำการปิดงวดบัญชี ภายในวันที่ 10  ตุลาคม..... (มีระยะเวลาน้อยกว่า 10 วัน)
                 - ดังนั้น การพัฒนาระบบทะเบียนวัสดุ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสภาพแวดล้อมด้านพัสดุที่ดี สนับสนุนการ
                   ปฎิบัติงานด้านคลังและสินทรัพย์ให้ดียิ่งขึ้น........

                                                                 ..........................................................................